|
|
|
ความเป็นมา
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา เป็นคณะวิชาลำดับที่ 6 ของวิทยาลัยนครราชสีมา โดยสภาวิทยาลัยนครราชสีมาเห็นชอบให้จัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์และเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในการประชุมสภาวิชาการ ครั้งที่ 5/2566 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 และนำเสนอผ่านสภาวิทยาลัยนครราชสีมาเห็นชอบอนุมัติหลักสูตรในการประชุมสภาวิทยาลัย ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งทางวิทยาลัยนครราชสีมาได้ทำบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สำหรับการเป็นสถาบันพี่เลี้ยงในการดำเนินการจัดตั้งให้กับคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2567 ทั้งนี้วิทยาลัยนครราชสีมาได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2568) เพื่อดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตราฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ดำเนินการภายใต้การบริหารงานตามแนวคิด ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจของวิทยาลัยนครราชสีมา |
|
|
|
ปรัชญา
|
|
|
ผลิตบัณฑิตพยาบาลให้มีคุณธรรม นำความรู้คู่การปฏิบัติ สู่สุขภาวะชุมชน |
|
|
|
|
วิสัยทัศน์
|
|
|
เป็นสถาบันการศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มุ่งผลิตพยาบาลนักปฏิบัติที่มีคุณภาพ ให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ |
|
|
|
|
อัตลักษณ์บัณฑิต
|
|
|
คิดเป็น (Thinking) ทำเป็น (Doing) เน้นจิตบริการ (Service mind) |
|
|
|
|
พันธกิจ
|
|
|
1. ผลิตบัณฑิตพยาบาลที่มีคุณภาพ มีความรู้และทักษะที่ได้มาตรฐานทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
2. พัฒนาสถาบันให้มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
3. สร้างองค์ความรู้ใหม่และถ่ายโอนความรู้สู่สังคมรวมทั้งบริการวิชาการแก่สังคม
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศชาติ
|
|
|
|
|
สีประจำคณะ
|
|
สีแดง |
|
|
สีแดง : เป็นสีมงคลที่สื่อถึงพลัง ความสุข ความสำเร็จและความมีชีวิตชีวา ความรัก, , ความปรารถนา, อำนาจ, ความเป็นผู้นำ, ความมุ่งมั่น
หมายถึง เป็นการต้อนรับสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต สีแดง’ เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล และเป็นหนึ่งในสามของแสงสีปฐมภูมิ (RGB: สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน) ทางวิทยาศาสตร์ และเป็นสีที่ทรงโปรดของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
การที่ประเทศไทยให้ความสําคัญกับการพยาบาลนั้น เนื่องในวันที่ 21 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันพยาบาลแห่งชาติ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในฐานะที่พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาล และตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจเพื่อพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นแบบอย่างแก่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ให้ตระหนักในภารกิจของวิชาชีพที่มีคุณค่าและเป็นแบบอย่างแก่สังคม |
|
|
|
|
ดอกไม้ประจำคณะ
|
|
ดอกปีป |
|
|
ดอกปีป : เป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลไทย โดยความหมายของต้นไม้ชนิดนี้ คือ เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่นแก่ชีวิต ซึ่งหมายถึง “พยาบาล” และดอกปีบ ยังหมายถึงยาอายุวัฒนะ ซึ่งเปรียบเสมือนพยาบาล ที่ให้การดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพแก่คนทั่วไป ต้นปีบเป็นต้นไม้ที่โตเร็ว เกิดขึ้นได้ในป่าทุกชนิด สามารถช่วยสร้างเสริมธรรมชาติที่ชุมชนและดำรงชีวิตให้แก่มวลมนุษย์ ต้นดอกปีบเป็นต้นไม้ที่สูงใหญ่และดอกส่งกลิ่นหอม ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับพยาบาลที่จะเป็นการบริการสุขภาพที่มีความจำเป็นต่อสังคมตลอดไป |
|
|
หมวกพยาบาล |
|
หมวกพยาบาล : หมวกพยาบาลไม่ใช่การมีอำนาจการจัดการเท่านั้น แต่แสดงถึงภาระหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น
หมวกพยาบาลนั้นวิวัฒนาการมาจากหมวกของแม่ชีในศาสนาคริสต์เพราะพยาบาลเริ่มต้นมาจากการที่ผู้ศรัทธาในพระเจ้ารวมกลุ่มกันทำงานช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย ในสมัยของ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (ค.ศ. 1820-1910) สตรีชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงในด้านการรักษาพยาบาล หมวกสีขาวนั้นเป็นเครื่องหมายว่าได้เข้าสู่การเป็นพยาบาลโดยสมบูรณ์"ตั้งแต่หัวจรดเท้า"และตระหนักรู้ว่าจะต้องมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพและต้องเป็นนางพยาบาลที่ดีตามความคาดหวังของสังคม ดังนั้นหมวกพยาบาลจึงเป็นหมวกอีกชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นเพียงสัญลักษณ์ว่าผู้ที่ใส่นั้นเป็นบุคคลซึ่งได้รับการศึกษาวิชาการพยาบาล และพร้อมที่จะให้การดูแลผู้ป่วย
ส่วนแถบสีดำที่อยู่บนหมวกพยาบาล พอจะใช้เป็นเครื่องสังเกตได้บ้างว่าเจ้าของหมวกนั้นจบการศึกษาระดับใด |
|
|
|
|
|
โลโก้คณะพยาบาล
|
|
|
วงกลมสีแดง ตัวอักษรสีขาวภาษาอังกฤษ ภายในมีหมวกสีขาวแถบดำ และดอกปีป พร้อมมีตัวย่อของสถาบัน NMC เป็นตัวย่อของสถาบัน NAKHONRATCHASIMA COLLEGE
สีขาวเป็นสีที่หมายถึงความบริสุทธิ์, ความสะอาด, ความปลอดภัย, สันติภาพ, ความดี, ความเรียบง่าย, ความยุติธรรม และความปลอดภัยอีกด้วย |
|
|
|